เมนู

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16


ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ 8


[882] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มี
พระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความ
เป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
เลย ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย.

[883] คำว่า แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ความว่า ใน
กาลก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นด้วย
จักษุนี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษาที่บัณฑุ-
กัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์
อันหมู่เทวดาห้อมล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนคร โดยบันไดอันสำเร็จด้วยแก้ว
มณีในท่ามกลาง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่เคยเห็นใน
กาลก่อนเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย.
[884] บทว่า อิติ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ
เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็น
เครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่อง
กล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
ยำเกรง. คำว่า สารีบุตร เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมาย
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งชื่อ เป็นความทรงชื่อ
เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ

แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าว
ดังนี้ว่า.
[885] ศัพท์ว่า ในคำว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย
เป็นปฏิเสธ. ศัพท์ว่า อุท เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-
ปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็น
ลำดับบท. คำว่า ต่อใคร ๆ คือ ต่อใคร ๆ ที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น
มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย.
[886] คำว่า พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้
ความว่า พระศาสดามีพระกระแสเสียงอันไพเราะ คือมีพระกระแสเสียง
อันเสนาะ มีพระกระแสเสียงเป็นที่ตั้งแห่งความรัก มีพระกระแสเสียง
ดูดดื่มหทัย มีพระกระแสเสียงเพราะดังเสียงนกการเวก เสียงอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 ประการ ย่อมเปล่งออกจากพระโอฐแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นคือ เป็นเสียงไม่ขัดข้อง 1 เป็นเสียงผู้ฟังทราบได้ง่าย 1 เป็นเสียง
ไพเราะ 1 เป็นเสียงน่าฟัง 1 เป็นเสียงกลมกล่อม 1 เป็นเสียงไม่
แปร่ง 1 เป็นเสียงลึก 1 เป็นเสียงก้องกังวาน 1
เมื่อใดพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น จะทรงยังบริษัทให้ทราบด้วยเสียง เมื่อนั้นเสียงของพระผู้-
มีพระภาคเจ้านั้นย่อมไม่ออกไปนอกบริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มี
เสียงเหมือนเสียงพรหม มีเสียงดังเสียงนกการเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก ชื่อว่า
พระศาสดา บุคคลผู้นำพวก ย่อมนำพวกให้ข้ามทางกันดาร คือให้ข้าม
ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่งทางกันดารแต่โจร ทางกันดารแต่สัตว์ร้าย

ทางกันดารแต่ที่อดอยาก ทางกันดารแต่ที่ไม่มีน้ำ ให้ถึงพร้อมซึ่งภูมิภาค
อันเกษม ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำออก ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่ง
กันดารแต่ชาติ กันดารแต่พยาธิ กันดารแต่มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส กันดารแต่ราคะ กันดารแต่โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต รกชัฏคือราคะ รกชัฏคือโทสะ โมหะ มานะ
และทิฏฐิ รกชัฏคือกิเลส ให้ถึงพร้อมซึ่งอมตนิพพานอันเป็นส่วนเกษม
ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า
ผู้นำพวก.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ ผู้แนะนำ ผู้นำเนือง ๆ ผู้ให้รู้ดี
ผู้ให้พินิจ ผู้เพ่งดู ผู้ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรง
ยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ผู้ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก
ทรงทราบมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทางฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้
สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรค
อยู่ เป็นผู้ประกอบศีลาทิคุณในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระศาสดา
ผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้.

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นพระคณาจารย์


[887] คำว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ